เจอเนิล เจอใจ Journal Jourjai

Good Mood อารมณ์ดี
เข้าใจอารมณ์ แบบฝึกหัดสะท้อนตนเอง ลงมือทำต่อเนื่อง
10-15 นาที
ทุกวัน
1 คน
ทุกวัย
ดาวน์โหลดเอกสาร

สามารถดาวน์โหลดเครื่องมือที่ใช้ในกิจกรรมได้จากปุ่ม “Download”

คำอธิบาย

เครื่องมือนี้จะพาให้ทุกคนได้ทบทวนอารมณ์ตัวเองในแต่ละวัน และคอยเตือนให้ทุกคนให้รางวัลตัวเองบ้าง โดยมีดอกไม้ให้เราได้ระบายความรู้สึกลงไปเป็นสีสันสดใส และ มีคําถามต่างๆชวนให้ลองตอบในแต่ละวัน

วิธีการใช้งาน
 1. นึกทบทวนว่าวันนี้เรารู้สึกอย่างไรเป็นหลัก เช่น โกรธ เหนื่อย เฉยๆ มีความสุช กระตือรือร้น เศร้า และ ตื่นเต้น 
 2. เมื่อคิดได้แล้ว ให้ระบายสีของอารมณ์ๆนั้นลงไปในดอกไม้ของวันนั้นๆ โดยสีของแต่ละอารมณ์จะมีระบุอยู่ในใบงานตรงช่อง LIST OF MOODS และ สามารถระบายหลายๆสีในหนึ่งดอกไม้ได้ หากในวันนั้นเรามีมากกว่าหนึ่งอารมณ์
3. เมื่อถึงวันที่ 7 อยากให้เขียนวิธีให้รางวัลตัวเอง 1 อย่าง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงสิ่งเล็กๆที่จะสามารถเพิ่มความสุขให้ตัวเราได้ และ ทําตามนั้น
4. ในใบงานหน้า Weekly Diary ให้เขียนสรุปสั้นๆเกี่ยวกับวันของตัวเองโดยตอบคําถามที่มีให้ในช่องของวันนั้น
 5. เมื่อทําได้ครบ 7 วันแล้ว อยากให้เขียนสิ่งที่อยากพูดกับตัวเองในอาทิตย์นี้หนึ่งประโยค
 6. ควรทํา Mood Tracker และ Weekly Diary ให้ครบทุกวันเป็นเวลา 1 เดือน และสามารถปริ้นใบงานสี่ครั้งเพื่อให้ครบกับอาทิตย์ของเดือน
อ้างอิง
  1. Cartoon Tanaporn. (2565). Self-reflection คืออะไร? การสะท้อนตัวตน ทักษะที่มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!. https://thegrowthmaster.com/growth-mindset/self-reflection.
  2. Courtney E. Ackerman, MA. (2560). 87 Self-Reflection Questions for Introspection [+Exercises]. https://positivepsychology.com/introspection-self-reflection/. 
  3. Renee Watson. (มปป.). Journaling for Mental Health. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentID=4552&ContentTypeID=1.
  4. Stephen M Schueller, Martha Neary, Jocelyn Lai, Daniel A Epstein. (2564). Understanding People’s Use of and Perspectives on Mood-Tracking Apps: Interview Study. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8387890/
  5. Teerasak Thaluang. (2563). สมดุลของอารมณ์ด้านบวก Positivity Ratio 3:1. https://medium.com/dailygrowup/สมดุลของอารมณ์ด้านบวก-af1a2981afc3
  6. PEA. (2564). ทฤษฎี 21 วันเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนใหม่ได้จริงไหม?. https://www.gridmag.co/21-days-psycho-cybernetics/.
  7. คาลอส บุญสุภา. (2564). การเสริมแรงและการลงโทษ (B.F.Skinner). https://sircr.blogspot.com/2021/05/bfskinner.html.