เซย์สิ่งดี ๆ กับตัวเอง SAY nice things to yourself

Good Mood อารมณ์ดี
เพิ่มความใจดี Self-care Self-Compassion
5 นาที
ทุกวัน
1 คน
ทุกวัย
เพื่อเสริมสร้างกำลังใจและอารมณ์บวกให้ตัวเราเองในทุกๆ วัน
ดาวน์โหลดเอกสาร

สามารถดาวน์โหลดเครื่องมือที่ใช้ในกิจกรรมได้จากปุ่ม “Download”

คำอธิบาย
"เรามันแย่" "เราไม่เห็นเก่งเลย" "เราผิดเอง" เคยพูดประโยคเหล่านี้กับตัวเองไหม? ในบางครั้งที่เราต้องการกำลังใจมากที่สุด เรากลับพูดสิ่งลบๆ เหล่านี้กับตัวเอง เครื่องมือนี้จะช่วยเราเปลี่ยนวิธีการพูดคุยกับตัวเองให้เป็นไปในทางบวกมากขึ้น การพูดกับตัวเองในทางบวกทั้งการพูดในใจหรือการได้ออกเสียงชัดๆ มีจุดร่วมที่เป็นคำพูดสร้างสรรค์ มีเหตุผลและอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ทำให้มองเห็นความเป็นไปได้ในปัจจุบัน สามารถสนับสนุนตัวเองได้ กิจกรรมนี้จะช่วยสร้างแรงผลักดันให้เราได้เริ่มต้นวันใหม่ด้วยการพูดสิ่งดี ๆ ให้กำลังใจตัวเองในการสู้กับอุปสรรคที่อาจต้องพบเจอ ทำให้เชื่อมั่นในตนเองว่าจะสามารถผ่านมันไปได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดความหวังและความรู้สึกดี ๆ ต่อตนเองและสิ่งรอบตัวอีกด้วย
วิธีการใช้งาน
1. พิมพ์บัตรคำพูดทางบวกออกมา และวางไว้ในตำแหน่งที่ตนเองจะเห็นได้เมื่อทำกิจวัตรประจำวันช่วงเช้า เช่น หน้ากระจก ชั้นวางของหน้าประตูบ้าน ฯลฯ


2.ทุกเช้าก่อนออกจากบ้านหรือเริ่มทำงานต่าง ๆ ให้สุ่มเปิดบัตรคำ และอ่านให้ตัวเองฟัง (แนะนำให้อ่านออกเสียงเพื่อให้การสื่อสารกับตนเองชัดเจนมากขึ้น)

คำแนะนำ

- ควรพูดเป็นประจำทุกวัน โดยเวลาที่แนะนำคือตอนเช้า กับเวลาก่อนนอน
- พูดด้วยความเชื่อมั่น อาจยืนหน้ากระจกและมองตัวเองในนั้น แล้วพูดออกเสียงกับตัวเอง ทำให้เชื่อว่าเราหมายความอย่างที่พูดจริง ๆ
อ้างอิง
  1. Cartoon Tanaporn. (2565). Self-reflection คืออะไร? การสะท้อนตัวตน ทักษะที่มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด!. https://thegrowthmaster.com/growth-mindset/self-reflection.
  2. Courtney E. Ackerman, MA. (2560). 87 Self-Reflection Questions for Introspection [+Exercises]. https://positivepsychology.com/introspection-self-reflection/.
  3. Renee Watson. (มปป.). Journaling for Mental Health. https://www.urmc.rochester.edu/encyclopedia/content.aspx?ContentID=4552&ContentTypeID=1.
  4. Stephen M Schueller, Martha Neary, Jocelyn Lai, Daniel A Epstein. (2564). Understanding People’s Use of and Perspectives on Mood-Tracking Apps: Interview Study. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8387890/
  5. Teerasak Thaluang. (2563). สมดุลของอารมณ์ด้านบวก Positivity Ratio 3:1. https://medium.com/dailygrowup/สมดุลของอารมณ์ด้านบวก-af1a2981afc3
  6. PEA. (2564). ทฤษฎี 21 วันเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นคนใหม่ได้จริงไหม?. https://www.gridmag.co/21-days-psycho-cybernetics/.
  7. คาลอส บุญสุภา. (2564). การเสริมแรงและการลงโทษ (B.F.Skinner). https://sircr.blogspot.com/2021/05/bfskinner.html.